เครื่องวัดความหนืด

เครื่องวัดความหนืด (Viscometer) สำหรับอุตสาหกรรม ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้าย สินค้าคุณภาพสูง สนใจเครื่องวัดติดต่อบริษัท นีโอนิคส์ จำกัด โทร: 098-479-5684 หรือ 061-8268939 หรือ Line ID:@neonics

สินค้าทั้งหมด


รู้จักความหนืด (Viscosity)

ความหนืดหมายถึงความต้านทานต่อการไหลของของเหลว เราสามารถนึกถึงน้ำ (ความหนืดต่ำ) และน้ำผึ้ง (ความหนืดสูง) อย่างไรก็ตาม คำจำกัดความนี้อาจสร้างความสับสนได้เมื่อเราดูของเหลวที่มีความหนาแน่นต่างกัน

ในทางด้านวิศวกรรมความหนืดเป็นค่าหลักของวัสดุเมื่อวัดการไหลของวัสดุเช่น ของเหลว กึ่งของแข็ง แก๊ส และแม้แต่ของแข็ง การวัดความหนืดจะเป็นการควบคุมคุณภาพและประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ผู้ผลิตสินค้าหลายรายมองว่าเครื่องวัดความหนืดเป็นส่วนสำคัญของการพัฒนา และควบคุมกระบวนการ การวัดความหนืดมักจะเป็นวิธีที่รวดเร็ว แม่นยำส่งผลต่อประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

มีวิธีการต่างๆ มากมายในการวัดความหนืด ซึ่งแต่ละวิธีเหมาะสมกับสถานการณ์และวัสดุเฉพาะ การเลือกเครื่องมือวัดค่าความหนืดที่เหมาะสม เพื่อตอบสนองความต้องการของการใช้งานใดๆ ถือเป็นเรื่องยาก เครื่องมือในปัจจุบันมีตั้งแต่แบบธรรมดาไปจนถึงแบบซับซ้อน

การวัดความหนืด

การวัดความหนืด

การวัดความหนืดเราใช้เครื่องมือที่เรียกว่า "เครื่องวัดความหนืดหรือ Viscometer" ใช้ในการวัดความหนืดของของเหลว โดยทั่วไปแล้วของเหลวจะอยู่กับที่และมีวัตถุเคลื่อนที่ผ่านของเหลว เกิดจากการเคลื่อนที่สัมพัทธ์ของของเหลวและพื้นผิวเป็นการวัดความหนืด

เงื่อนไขการไหลต้องมีค่าขนาดเล็กเพียงพอที่จะมีการไหลแบบราบเรียบ ที่ 20 ° C ความหนืดไดนามิก ความหนืดของน้ำคือ 1.0038 mPa·s  ความหนืดคือการวัดความต้านทานของสารต่อการเคลื่อนที่ภายใต้แรงกระทำ

สูตรการวัดความหนืดค่อนข้างง่าย:

สมการความหนืด

ความหนืดของเหลวทั่วไปความหนืดจะคงที่ตลอดช่วงอัตราเฉือนกว้าง (Newtonian Fluid) แต่สำหรับของเหลวที่มีความหนืดไม่เท่าในแต่ละช่วงความลึก (Non-Newtonian)

หน่วยความหนืด (Unit of Viscosity)

หน่วยของความหนืดแบบดั้งเดิมคือ Poise (สัญลักษณ์: P) และ centiPoise (สัญลักษณ์: cP) ได้รับการตั้งชื่อตามแพทย์ชาวฝรั่งเศส Jean Louis Marie Poiseuille (ค.ศ. 1799 - 1869) 

แต่โดยทั่วไปเรามักใช้หน่วยเป็น centipoise (cP) ซึ่งก็คือ 0.01 poise ของเหลวในชีวิตประจำวันจำนวนมากมีความหนืดระหว่าง 0.5 ถัง 1,000 cP

หน่วยของความหนืดในระบบ SI

หน่วยความหนืดในระบบ SI ได้แก่ Pascal-second (สัญลักษณ์: Pa.s) และ milliPascal-second (สัญลักษณ์: mPa.s) อ่านว่ามิลลิปาสคาลวินาที และมีค่าเทียบเท่ากับนิวตัน - วินาทีต่อตารางเมตร (N·s m-2) 

โดยที่ 1 cP = 1 mPa·s

ความจำเป็นของการวัดความหนืดในอุตสาหกรรม

  • อุตสาหกรรมอาหาร: การวัดความหนืดถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุน และใช้ในการออกแบบเครื่องจักรด้านอาหารมีผลต่ออัตราที่ผลิตภัณฑ์เดินทางผ่านท่อ การจ่ายของเหลวลงในบรรจุภัณฑ์ 
  • อุตสาหกรรมกาว: ในการเลือกความหนืดที่เหมาะสมสำหรับกาว กาวที่มีความหนืดต่ำจะไหลได้เร็วกว่ากาวที่มีความหนืดสูง
  • อุตสาหกรรมปิโตรเลียม: การวัดความหนืดจะแสดงประสิทธิภาพของการหล่อลื่นน้ำมันและกำหนดองค์ประกอบการออกแบบของท่อส่งระบบน้ำมัน
  • อุตสาหกรรมคอนกรีต: ความหนืดเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการปรับระดับและสูบของสารผสมระหว่างคอนกรีตกับน้ำ
  • อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง: ความหนืดควรพิจารณาเมื่อออกแบบความรู้สึกและการไหลของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

สอบถามข้อมูล สั่งซื้อ ขอใบเสนอราคา